Prepositions คือคำบุพบทที่ใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำ มักใช้นำหน้าคำนาม, สรรพนาม, หรือ gerund เพื่อบอกถึง เวลา, สถานที่, ตำแหน่ง, ทิศทาง, การเคลื่อนไหว, ลักษณะ, และความสัมพันธ์ต่างๆ preposition อาจมีลักษณะเป็นคำเดียว (simple preposition), หลายคำมาต่อติดกัน (compound preposition), participial preposition (คำบุพบทที่มีรูปเหมือนกับ present participle คือ Verb + ing), หรือมีหลายคำมารวมกันเป็นกลุ่ม (phrasal preposition) ก็ได้ เรามาดูสรุปใจความสำคัญเกี่ยวกับการใช้ prepositions กันนะคะ
– เรามักจะใช้ preposition วางไว้หน้านาม, สรรพนาม อย่างเช่น into the building, between them, at two o’clock, without a coat, by car, with her, etc.
– Preposition บางคำยังสามารถใช้วางอยู่หน้า gerund (V-ing) ได้ด้วย อย่างเช่น after finishing, to travelling, without thinking, etc. (ดูเรื่อง Preposition ที่ตามด้วย Gerund)
– ตามปกติแล้ว เราไม่ใช้ preposition หน้า adverb แต่บางครั้ง prepositions บางคำก็สามารถใช้วางไว้หน้า adverb ได้อย่างเช่น until tomorrow, through there, at once
– เราจะไม่ใช้ preposition วางไว้หน้า that-clause ตัวอย่างเช่น
We’re hoping for a win.
We’re hoping (that) we’ll win.
ไม่ใช่ We’re hoping for that we’ll win.
พวกเราหวังว่าจะชนะ
– แต่เราสามารถใช้ preposition วางไว้หน้า wh-clause ได้ตัวอย่างเช่น
I’d better make a list of what we need.
ฉันควรทำรายการสิ่งจำเป็นที่เราต้องการดีกว่า
หมายเหตุ : กลุ่มคำที่นำหน้าด้วย preposition ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นมีชื่อเรียกว่า prepositional phrase หรือ บุพบทวลี ซึ่งมันจะทำหน้าที่เหมือนเป็นส่วนขยาย (adverbial) ที่บอกถึง เวลา, สถานที่, ตำแหน่ง, ทิศทาง, การเคลื่อนไหว, ลักษณะ, และความสัมพันธ์ต่างๆ นั่นเอง (เพื่อนๆ อย่าสับสนกับคำว่า phrasal preposition ที่ได้พูดถึงในตอนต้นนะคะ)
– เราสามารถปรับแต่ง preposition เพื่อบอกรายละเอียดเพิ่มเติมได้ อย่างเช่น
at the end ปรับแต่งเพิ่มเป็น almost at the end
in front of me ปรับแต่งเพิ่มเป็น right in front of me
up the hill ปรับแต่งเพิ่มเป็น halfway up the hill
over the floor ปรับแต่งเพิ่มเป็น all over the floor
after your lesson ปรับแต่งเพิ่มเป็น directly after
– บางครั้ง preposition สามารถวางไว้ท้ายสุดของประโยคได้ ตัวอย่างเช่น
Who did you go to the party with? (Wh-question)
ใครหรือที่คุณไปงานปารตี้ด้วย?
I’ve sent a music record for you to listen to. (infinitive clause)
ฉันได้ส่งไฟล์เพลงให้คุณฟัง
War reporters sometimes get shot at. (passive)
ผู้สื่อข่าวสงครามบางครั้งก็ถูกยิง
That’s the article I told you about. (relative clause)
นั่นคือบทความที่ฉันเคยบอกคุณไว้
– Prepositions บางคำสามารถเป็น adverbs ได้ด้วย ตัวอย่างเช่น
I waited for Pranee outside the bank. (preposition)
ฉันรอปราณีอยู่ข้างนอกธนาคาร
Pranee went into the bank and I waited outside. (adverb)
ปราณีเข้าไปในธนาคารและฉันรออยู่ข้างนอก
We haven’t seen Sumalee since last summer. (preposition)
เรายังไม่ได้เห็นสุมาลีตั้งแต่ช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา
We saw Sumalee last summer, but we haven’t seen her since. (adverb)
เราเห็นสุมาลีในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา แต่เราไม่ได้เจอเธอตั้งแต่นั้น
We had to walk up the stairs. (preposition)
เราต้องเดินขึ้นบันได
We had to walk up. (adverb)
เราต้องเดินขึ้นไป
– Prepositions บางคำสามารถเป็นคำเชื่อมประโยค (conjunctions) ได้ด้วย ตัวอย่างเช่น
We must be ready before their arrival. (preposition)
เราต้องพร้อมก่อนการมาของพวกเขา
We must be ready before they arrive. (conjunction)
เราต้องพร้อมก่อนพวกเขามา
*** ดูเพิ่มเติมเรื่อง
– การใช้ before, after
– การใช้ by, by the time เชื่อมประโยค
– มีคำนามอยู่หลายคำที่ใช้ preposition เฉพาะบางคำตามหลังเพื่อบอกความหมายจำเพาะ เช่น reason for, amount of, studies on, etc. ดูเรื่อง การใช้ noun + prepositions for/of/in/to/with/between และตัวอย่างประโยค
– เราใช้ adjective + preposition เช่น It was nice of you to … , I’m very impressed with (or by) …., Sorry about / for …, I’m not very good at …, etc.
ดูเรื่อง การใช้ preposition ตามหลัง adjective ตัวอย่างประโยค (ตอนที่ 1)
การใช้ adjective with preposition (combinations) ตัวอย่างประโยค (ตอนที่ 2) และ การใช้ adjective + preposition + noun/gerund ตัวอย่างประโยคเพิ่มเติม (ตอนที่ 3)
– เราใช้ verb + preposition เช่น explain something to somebody, look at, laugh at, throw something to somebody, wait for, talk about, etc.
ดูเรื่อง การใช้ verb + preposition คำศัพท์ ความหมาย ตัวอย่างประโยคพร้อมแปล
และ สรุปหลักการใช้ phrasal verbs
– Preposition อาจมีลักษณะเป็นคำเดียว (simple preposition), หลายคำมาต่อติดกัน (compound preposition), participial preposition (คำบุพบทที่มีรูปเหมือนกับ present participle คือ Verb + ing) หรือมีหลายคำมารวมกันเป็นกลุ่ม (phrasal preposition) ก็ได้ อย่างเช่น
- Simple prepositions : in, on, at, to, over, before, after, since, for, etc.
- Compound prepositions : without, within, inside, outside, into, beneath, below, behind, between, etc.
- Participial prepositions: including, following, concerning, etc.
- Phrasal prepositions : according to, because of, in addition to, in front of, instead of, in spite of, out of, rather than, etc.
– โดยทั่วๆ ไป prepositions มักจะแบ่งเป็น 7 ประเภทคือ
- คำบุพบทบอกเวลา (preposition of time) ดูเรื่อง สรุปรวมการใช้ prepositions of time มีอะไรบ้างที่ควรรู้
- คำบุพบทบอกสถานที่ (preposition of place) ดูเรื่อง สรุปรวมการใช้ prepositions of place มีอะไรบ้างที่ควรรู้
- คำบุพบทบอกตำแหน่ง (preposition of position/location) อันนี้เราได้พูดรวมไว้ในเรื่อง preposition of place
- คำบุพบทบอกการเคลื่อนไหว (preposition of movement/motion) ดูเรื่อง สรุปรวมการใช้ prepositions of movement ที่ควรรู้
- คำบุพบทบอกทิศทาง (preposition of direction) อันนี้ก็เราก็อธิบายรวมไว้ในเรื่อง prepositions of place กับ movement เช่นกัน
- คำบุพบทบอกลักษณะ (preposition of manner)
- คำบุพบทบอกความสัมพันธ์ (preposition of relationship)
เนื่องจาก prepositions มีเป็นจำนวนมากมายหลายคำ จึงมีความพยายามแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ แตกต่างกันไปในหลายตำราจนบางทีก็ทำให้เพื่อนๆ สับสนได้เหมือนกันใช่ไหมคะ แต่ทั้งนี้ทั้งน้้น ถ้าสังเกตดีๆ มันก็จะทำหน้าที่บอกความหมายตามชื่อของมันนั่นแหละค่ะ เราเคยบอกหลายครั้งในหลายๆ ตอนแล้วว่าไม่ต้องไปท่องจำว่า prepositions มีกี่ประเภท อะไรบ้าง แต่ให้มุ่งสนใจในความหมายของ prepositions แต่ละคำและรูปแบบการนำไปใช้ให้มากๆ เข้าไว้ ส่วนชื่อของมันเอาไว้อ้างอิงเวลาพูดอธิบายถึงมันก็พอ แล้วก็อย่าลืมเข้าไปทบทวนดูรายละเอียดในเรื่องต่างๆ ด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ
10 thoughts on “สรุปการใช้ prepositions”