สำหรับตอนนี้เราจะมาดูตัวอย่างสำนวนที่ตามด้วย Gerund (V+ing) กันนะคะ อย่างที่ได้เคยบอกไว้ว่าการใช้ Gerund นั้นมีรายละเอียดให้เราต้องจดจำมากมายเลย และ สำนวนที่ตามด้วย Gerund (V+ing) ก็เป็นอีกเรื่องนึงที่เราต้องให้ความสนใจด้วยเช่นกัน เรามาดูตัวอย่างประโยคการใช้ สำนวนที่ตามด้วย Gerund (V+ing) กันเลยค่ะ Continue reading สำนวนที่ตามด้วย Gerund (V+ing)
Category Archives: ภาษาอังกฤษ
Preposition ที่ตามด้วย Gerund ตัวอย่างการใช้ Preposition + Gerund
ตัวอย่างประโยคการใช้ preposition ที่ตามด้วย gerund (Preposition + Gerund) ปกติแล้วหลังคำบุพบท(preposition) จะตามด้วย Noun หรือ Gerund(V-ing) เช่น He is good at driving a car. ประโยคนี้ at เป็น preposition ที่ตามด้วย gerund คือ driving นั่นเองค่ะ (ดูเพิ่มเติมเรื่อง Gerund คืออะไร? การใช้ Gerund และตัวอย่างประโยค) Prepositions เหล่านี้เช่น about, against, at, by, for, in, of, on, to, with, without, instead of, และ in spite of (ดูเรื่อง สรุปหลักการใช้ prepositions)
*** ถ้าบุพบท(preposition) มีคำกริยา(verb) ตามหลัง เราจะใช้เป็นกริยาไม่แท้(non-finite verb) ในรูป Gerund (-ing) ซึ่งทำหน้าที่เป็นคำนามนั่นเองค่ะ Continue reading Preposition ที่ตามด้วย Gerund ตัวอย่างการใช้ Preposition + Gerund
Verbs ที่ตามด้วย Gerunds ตัวอย่างประโยคและคำแปล
การใช้ Gerunds ว่าด้วยเรื่อง Verbs ที่ตามด้วย Gerunds พร้อมตัวอย่างประโยคและคำแปลความหมาย ในตอนที่แล้วที่เราพูดถึงเรื่อง Gerunds as Subjects and Objects มี Verbs ที่ตามด้วย Gerunds มาเกี่ยวข้องด้วย ดังนั้นในตอนนี้เราจะมาดูกันว่า Verbs ที่ตามด้วย Gerund เหล่านี้มีอะไรบ้างพร้อมกับดูตัวอย่างประโยคและคำแปลความหมายไปด้วยกันเลยนะคะ Continue reading Verbs ที่ตามด้วย Gerunds ตัวอย่างประโยคและคำแปล
ตัวอย่างประโยค Gerunds as Subjects and Objects
ตัวอย่างประโยค Gerunds as Subjects and Objects (คือ Gerunds ที่ใช้ทำหน้าที่เป็นประธานและกรรมของประโยค) เช่น Painting is my favorite hobby. I enjoy painting. ในประโยคแรกเราใช้ Gerund as Subject และประโยคหลังเราใช้ Gerund as Object นั่นเอง คราวก่อนเราได้รู้แล้วว่า Gerund คือกริยาที่เติม ing (V-ing) กลายเป็นกริยาไม่แท้ที่ใช้เป็นคำนามซึ่งสามารถใช้ทำหน้าที่ได้หลายแบบในประโยค (ดูเรื่อง Gerund คืออะไร? การใช้ Gerund และตัวอย่างประโยค) ในตอนนี้เราจะมาดูรายละเอีียดหลักการใช้ Gerund as Sucject and Oject หรือการใช้ Gerund เป็นประธานและกรรมของประโยค พร้อมกับตัวอย่างประโยคและคำแปลความหมายกันค่ะ Continue reading ตัวอย่างประโยค Gerunds as Subjects and Objects
Gerund คืออะไร? การใช้ Gerund และตัวอย่างประโยค
Gerund คือคำกริยา(verb) ที่เติม ing (V-ing) เป็นกริยาไม่แท้ใช้ทำหน้าที่เป็นคำนาม การใช้ Gerund สามารถใช้ทำหน้าที่เป็นได้ทั้งประธาน(Subject) กรรม(Object) และ ส่วนเสริม(Complement)ของประโยค คือเราสามารถใช้ Gerund วางไว้ได้ทั้งหน้าประโยค กลางประโยค และท้ายประโยค ตามหน้าที่ของมันนั่นเองค่ะ Gerund ได้ชื่อว่าเป็น กริยานามหรืออาการนาม(Verbal Noun) เนื่องจากตัวมันแม้จะใช้เป็นคำนามแต่มันก็แสดงออกถึงอาการกริยาไปในตัว ทีนี้เรามาลองดูตัวอย่างประโยค Gerund และทำความเข้าใจหลักการใช้ Gerund และหน้าที่ของ Gerund ในประโยคต่างๆ ไปพร้อมกันเลยนะคะ Continue reading Gerund คืออะไร? การใช้ Gerund และตัวอย่างประโยค
ความแตกต่างระหว่าง should กับ ought to การใช้ และ ตัวอย่างประโยค
should + verb = ought to + verb แปลว่า ควร, น่าที่จะ เรามาดูความแตกต่างระหว่าง should กับ ought to การใช้ should กับ ought to และตัวอย่างประโยคกันค่ะ Continue reading ความแตกต่างระหว่าง should กับ ought to การใช้ และ ตัวอย่างประโยค
ตัวอย่างประโยค needn’t (ไม่จำเป็นต้อง) กับ mustn’t (ต้องไม่, อย่า)
เรามาดูตัวอย่างประโยค needn’t (ไม่จำเป็นต้อง) เปรียบเทียบกับ mustn’t (ต้องไม่, อย่า) เพิ่มเติมกันหน่อย ดูตัวอย่างกันว่าเราควรจะใช้ needn’t หรือ mustn’t ในเหตุการณ์แบบไหนบ้าง [needn’t + Verb] = ไม่จำเป็นต้อง / [mustn’t + Verb] = ต้องไม่, อย่า Continue reading ตัวอย่างประโยค needn’t (ไม่จำเป็นต้อง) กับ mustn’t (ต้องไม่, อย่า)
การใช้ need, don’t need to, needn’t(need not), needn’t have
หลายคนยังสงสัยเรื่องการใช้ need, don’t need to, needn’t(need not), needn’t have need ตอนนี้เราจะมาดูรายละเอียดเพิ่มเติมกัน จำได้ว่าเราเคยพูดถึงการใช้ need to be done (need passive infinitive) กับ need doing (need gerund) กันไปแล้ว ทีนี้เราจะย้อนกลับมาดูเรื่องการใช้ need เป็นกริยาหลัก/กริยาช่วย การใช้ need ในรูปปฏิเสธ และ การใช้ need ในประโยคคำถามกันบ้างนะคะ Continue reading การใช้ need, don’t need to, needn’t(need not), needn’t have
แบบฝึกหัดการใช้ must; have to; mustn’t; don’t have to พร้อมเฉลย
ต่อไปเป็นแบบฝึกหัดการใช้ must; have to; mustn’t; don’t have to พร้อมเฉลยนะคะ เพื่อนๆ ลองทำแบบฝึกหัดก่อนแล้วค่อยเลื่อนไปดูเฉลยในตอนท้ายนะคะ ถ้าสงสัยข้อไหนก็ลองกลับไปดูเรื่อง หลักการใช้ must และ have to ใช้ต่างกันอย่างไร และ การใช้ mustn’t และ don’t have to ใช้ต่างกันอย่างไร แล้วค่อยกลับมาทำแบบฝึกหัดก็ได้นะคะ Continue reading แบบฝึกหัดการใช้ must; have to; mustn’t; don’t have to พร้อมเฉลย
การใช้ mustn’t และ don’t have to ใช้ต่างกันอย่างไร
สำหรับการใช้ mustn’t และ don’t have to นั้น mustn’t (แปลว่าต้องไม่, อย่า) เช่นการห้ามทำผิดกฏหรือกฏหมาย ส่วน don’t have to (แปลว่าไม่จำเป็นต้อง) มักใช้บอกว่าไม่จำเป็นต้องทำบางสิ่งบางอย่าง (แต่ก็ไม่ได้ห้ามนะคะ) เพื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้นเรามาดูตัวอย่างประโยคการใช้ mustn’t และ don’t have to กันดีกว่าค่ะ Continue reading การใช้ mustn’t และ don’t have to ใช้ต่างกันอย่างไร