การใช้ phrasal verbs; take after, take on, take over ในความหมายต่างๆ พร้อมตัวอย่างประโยค และคำแปลความหมาย
Take after
การใช้ phrasal verb – take after ในความหมายที่ใช้กันโดยทั่วไป คือ
Take after (someone) = รูปร่างหน้าตา, ท่าทาง, หรือนิสัย เหมือน พ่อ, แม่ หรือ ญาติที่แก่กว่า ตัวอย่างประโยคเช่น
Pranee take after her mother with her fair hair and skin.
ปราณีมีผมสลวยและผิวขาวผ่องเหมือนกับแม่ของเธอ
Don’t take after your older brother—he’s a hot-tempered man.
อย่ามีนิสัยเหมือนพี่ชายของคุณ – เขาเป็นคนใจร้อน
นอกจากนี้ยังมีการใช้ phrasal verb – take after ในความหมายอื่นๆ อย่างเช่น
Take after = ทำตามอย่างคนอื่น ตัวอย่างประโยคเช่น
Don’t take after your older brother—he’s a bad influence.
อย่าทำตามอย่างพี่ชายของเธอ เขามีนิสัยไม่ดีเลย
Pranee took after her aunt and began working as a volunteer for the Red Cross.
ปราณีเอาอย่างป้าของเธอและเริ่มทำงานเป็นอาสาสมัครสภากาชาด
Take on
การใช้ phrasal verb – take on ในความหมายที่ใช้กันโดยทั่วไป คือ
Take on = รับผิดชอบต่อการ… (มักใช้กับเรื่องที่ท้าทาย) ตัวอย่างประโยคเช่น
I’ll take on the project if no one else will.
ฉันจะรับผิดชอบโครงการนี้เองถ้าไม่มีใครอยากทำ
We need to devote more of our resources to expanding our marketing campaign. Who is willing to take on?
เราจำเป็นต้องทุ่มเททรัพยากรของเรามากขึ้นเพื่อขยายแคมเปญการตลาด มีใครยินดีที่รับเรื่องนี้ไปดูแลบ้าง
นอกจากนี้ยังมีการใช้ phrasal verb – take on ในความหมายอื่นๆ อย่างเช่น
Take on = บรรทุกของหรือผู้โดยสารจนเต็มลำ (มักใช้กับเรือหรือเครื่องบิน) ตัวอย่างประโยคเช่น
We’ve taken too many passengers on already—we’ll be too heavy to fly if we take anymore!
เรารับผู้โดยสารจำนวนมากเกินไปแล้ว – เราจะหนักเกินกว่าจะบินได้ถ้าเรายังรับเพิ่มอีก!
The ship took on cargo in Laem Chabang yesterday.
เมื่อวานนี้เรือบรรทุกสินค้าจนเต็มที่แหลมฉบัง
Take (someone) on = เผชิญหน้า, โต้แย้ง หรือ ต่อสู้กับ… ตัวอย่างประโยคเช่น
I pretended to agree because I really didn’t want to take him on.
ฉันแกล้งทำเป็นเห็นด้วยเพราะไม่ต้องการเผชิญหน้ากับเขา
She’s the only one willing to take the professor on in class when he says something wrong.
เธอเป็นคนเดียวที่กล้าที่จะโต้แย้งอาจารย์ในชั้นเรียนเมื่อเขาพูดบางอย่างผิด
Take on = จ้าง หรือ ทำสัญญาจ้าง ให้มาทำงานหรือให้บริการ ตัวอย่างประโยคเช่น
We take on extra workers during the busy season.
เราจ้างคนงานเพิ่มเป็นพิเศษในช่วงเวลาที่งานเยอะ
We take on a number of high-school graduates each year as interns to give them some work experience before they begin college.
ในแต่ละปีเรารับเด็กจบมัธยมปลายจำนวนหนึ่งมาฝึกงานเพื่อให้พวกเขามีประสบการณ์การทำงานก่อนที่พวกเขาจะเริ่มเรียนในระดับวิทยาลัย
Take on ใช้เป็นศัพท์สแลงหมายความว่า แสดงอารมณ์รุนแรง (เสียใจ หรือรุ่มร้อน มักใช้กับอารมณ์ทางลบ), หรือคิดสั้น ตัวอย่างประโยคเช่น
Stop crying. Please don’t take on so.
หยุดร้องไห้เถอะ อย่าได้เสียใจมากมายเกินไปเลย
I wish you wouldn’t take on about this matter.
ฉันหวังว่าเธอจะไม่คิดมากเกี่ยวกับเรื่องนี้นะ
Take over
การใช้ phrasal verb – take over ในความหมายที่ใช้กันโดยทั่วไป คือ
Take over = เข้าควบคุม, เข้ายึด ความหมายคล้ายกันกับ take control ตัวอย่างประโยคเช่น
Surachai’s the new manager. I’ll be taking over from Sombat.
สุรชัยเป็นผู้จัดการคนใหม่ เขาจะเข้ามาดูแลจัดการแทนสมบัติ
If you will take over driving, I’d like to get some sleep.
ถ้าเธอจะขับรถแทนฉัน ฉันอยากจะได้นอนพักบ้าง
นอกจากนี้ยังมีการใช้ phrasal verb – take over ในความหมายอื่นๆ อย่างเช่น
Take over = เข้ามาแทนที่ ตัวอย่างประโยคเช่น
Computers have completely taken over typewriters.
คอมพิวเตอร์ได้เข้ามาแทนที่เครื่องพิมพ์ดีดโดยสิ้นเชิง
Do you think India will take China over as the country with the largest population?
คุณคิดว่าประเทศอินเดียจะมีประชากรมากที่สุดแทนที่ประเทศจีนมั๊ย?
Take over = บรรทุกบางสิ่งหรือบางคนข้ามไป ตัวอย่างประโยคเช่น
The boat took the passengers safely over the shoals.
เรือพาผู้โดยสารข้ามสันดอนไปได้อย่างปลอดภัย
The ferry will take you over the channel in about four hours.
เรือเฟอร์รี่จะพาคุณข้ามฝั่งไปภายในสี่ชั่วโมง
Take over = นำบางสิ่งไปไว้อีกที่หนึ่ง ตัวอย่างประโยคเช่น
Would you take these blankets over to our neighbor?
คุณช่วยนำผ้าห่มเหล่านี้ไปให้เพื่อนบ้านของเราได้ไหม
The painters might get paint on the floor; please take over these newspapers and put them underneath the ladder.
ช่างทาสีอาจต้องทาสีบนพื้นนี้ ช่วยยกเอาหนังสือพิมพ์พวกนี้ไปไว้ใต้บันไดด้วย
Take over = ประสบความสำเร็จโดดเด่นขึ้นมา ตัวอย่างประโยคเช่น
Tiger Woods has taken over as the top golfer.
ไทเกอร์ วู๊ดส์ ขึ้นมาเป็นนักกอล์ฟชั้นนำ
อ่านจบแล้วเพือนๆ อย่าลืมเข้าไปทดสอบความรู้กันด้วยนะคะ มีตัวอย่างประโยคให้ทำความเข้าใจอีกเยอะเลยค่ะ — แบบฝึกหัด Phrasal Verbs TAKE พร้อมเฉลย และคำแปลอธิบายความหมายศัพท์
*** ดูเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้อง
– การใช้ take place; take up; take down ตัวอย่างประโยค คำแปล
– การใช้ take in; take out; take off; take away ตัวอย่างประโยค คำแปลความหมาย
– Get กับ take ใช้ต่างกันอย่างไร การใช้ get, take ในความหมายต่างๆ
– การใช้ Phrasal Verbs TAKE มีอะไรบ้างที่ควรรู้ ตัวอย่างประโยค คำแปล
– หลักการใช้ Phrasal Verbs
3 thoughts on “การใช้ take after, take on, take over ตัวอย่างประโยค+คำแปล”
Comments are closed.