เรามาดูรูปร่างหน้าตาของโครงสร้างของ 12 tenses และหลักการ+วิธีการใช้ tense ทั้ง 12 tenses ในแบบที่เข้าใจได้ง่ายๆ ตามหลักไวยากรณ์พร้อมกับตัวอย่างประโยคกันต่อนะคะ
ตอนที่ผ่านมาในเรื่อง “Tense คืออะไร 12 Tenses เข้าใจง่ายจำง่ายไม่ต้องท่อง” เราได้รู้จักว่า tense คืออะไร และรู้จักชื่อของ 12 tenses ซึ่งเราแบ่งมันเป็น 4 กลุ่มคือ simple tense, continuous tense, perfect tense และ perfect continuous tense เพื่อจะได้ทำความเข้าใจพวกมันได้ดีขึ้นและสามารถจดจำพวกมันได้ง่ายกว่าเดิมนั่นเอง
โครงสร้างของ tense 12 tenses และตัวอย่างประโยค
เรามาดู 12 tenses ทั้งสี่กลุ่มนี้อีกทีนะคะ
ทีนี้เรามาดูตัวอย่างประโยคง่ายๆของ tense 12 tenses ชัดๆกันอีกที
สรุปให้อีกทีละกัน
- Simple Tense ทำอะไรง่ายๆ ตรงไปตรงมา
- Continuous Tense กำลังทำอะไรอยู่อย่างต่อเนื่อง
- Perfect Tense ทำเสร็จสมบูรณ์แล้ว
- Perfect Continuous Tense ทำสมบูรณ์แล้วและยังกำลังทำอยู่ต่อเนื่องต่อไป
ทีนี้เรามาดูรูปร่างหน้าตาโครงสร้างทางไวยากรณ์ของ 12 tenses กัน จากสองภาพข้างบนเราจะมาเปลี่ยนประโยคให้เป็นโครงสร้างของ tense ทั้ง 12 tenses กัน
ขอย้ำไว้ตรงนี้ก่อนว่ายังไม่ต้องพยายามท่องจำในรายละเอียดทั้งหมดนะคะ ลองมองในภาพรวมๆเพื่อสร้างความคุ้นเคยกับโครงสร้างของ 12 tenses กันก่อนเพราะต่อไปเราจะได้พบกับพวกมันอยู่บ่อยๆ แล้วในที่สุดก็จะจำได้เองโดยไม่ต้องท่องแน่นอนค่ะ
โครงสร้างทางไวยากรณ์ของ tense 12 tenses
โครงสร้างของ tense 12 tenses และตัวอย่างประโยค
เพื่อนๆ ลองมองภาพสองภาพข้างบนอย่างตั้งใจอีกครั้งนะคะ พยายามมองให้ออกว่าโครงสร้างของของ tense ในแต่ละกลุ่มมันมีความเหมือนและความแตกต่างกันตรงจุดไหนอย่างไรบ้าง…
ในกลุ่ม Simple Tense จะมีโครงสร้างเรียบง่ายที่สุดเหมือนชื่อของมัน Past กับ Present จะมีเพืียงประธานของประโยคกับกริยาตัวเดียว ส่วนพวก Future จะมี will เพิ่มเข้ามาเป็นกริยาช่วย
- Past Simple Tense [S + V2]
- Present Simple Tense [S + V1]
- Future Simple Tense [S + will +V (Infinitive)]
ในกลุ่ม Continuous Tense จะมีโครงสร้าง [be + V-ing] คือมี be(is/am/are/was/were/been ตัวใดตัวหนึ่ง) กับกริยาที่ต้องเติม ing ด้วยเสมอ
- Past Continuous Tense [S + was/were + V-ing]
- Present Continuous Tense [S + is/am/are + V-ing]
- Future Continuous Tense [S + will + be + V-ing]
ในกลุ่ม Perfect Tense จะมีโครงสร้าง [have + V3] คือมี verb to have (have/has/had ตัวใดตัวหนึ่ง) ตามด้วยกริยาช่องสาม(V3)เสมอ
- Past Perfect Tense [S + had + V3]
- Present Perfect Tense [S + has/have + V3]
- Future Perfect Tense [S + will + have + V3]
ในกลุ่ม Perfect Continuous Tense จะมีโครงสร้าง [have + been + V-ing] ซึงนำทั้งลักษณะของ Perfect และ Continuous มารวมอยู่ในตัวมันคือมี verb to have + กริยาช่องสามคือ been ที่แสดงถึงความเป็น perfect และ been ยังทำหน้าที่เป็น verb to be ให้กับกริยาเติม ing ของ Continuous อีกด้วย
- Past Perfect Continuous Tense [S + had + been + V-ing]
- Present Perfect Continuous Tense [S + has/have + been + V-ing]
- Future Perfect Continuous Tense [S + will + have + been + V-ing]
ตอนนี้เพื่อนๆคงพอมองออกแล้วใช่ไหมคะว่าแต่ละกลุ่มลักษณะพฤติกรรมของ tense มันมีรูปกริยา-กริยาช่วย-verb to be-verb to have เป็นแบบเรียบง่าย (simple), ต่อเนื่อง (continuous/progressive), สมบูรณ์ (perfect) หรือสมบูรณ์อย่างต่อเนื่อง (perfect continuous/progressive) อย่างไร มันมีธรรมชาติและโครงสร้างตามชื่อของมันอย่างไร พยายามมองให้ออกให้ได้นะคะเพราะนี่คือจุดสำคัญที่จะทำให้เราเข้าใจระบบของ tense เพื่อที่จะไปทำความเข้าใจในลักษณะและพฤติกรรมของแต่ละ tense ได้อย่างลึกซึ้งโดยไม่เกิดความสับสนอีกต่อไป
เราไปดู หลักการใช้ tense ทั้ง 12 อย่างละเอียดพร้อมตัวอย่าง กันนะคะ
Simple Tense:
– ตัวอย่างประโยค Present Simple Tense พร้อมคำอธิบายหลักการใช้อย่างละเอียด
– ตัวอย่างประโยค Past Simple Tense พร้อมคำอธิบายหลักการใช้อย่างละเอียด
– หลักการใช้ Future Simple Tense พร้อมตัวอย่าง
ข้อสอบ/แบบฝึกหัด พร้อมเฉลย
– ข้อสอบ/แบบฝึกหัด Present Simple Tense พร้อมเฉลยและคำอธิบาย
– ข้อสอบ/แบบฝึกหัด Past Simple Tense พร้อมเฉลย+คำอธิบายอย่างละเอียด
กาลปัจจุบัน(Present Tense):
– หลักการใช้ Present Simple Tense + Present Continuous Tense พร้อมตัวอย่าง
– หลักการใช้ Present Perfect Tense + Present Perfect Continuous Tense พร้อมตัวอย่าง
กาลในอดีต(Past Tense):
– หลักการใช้ Past Simple Tense พร้อมตัวอย่าง
– หลักการใช้ Past Continuous Tense พร้อมตัวอย่าง
– หลักการใช้ Past Perfect Tense + Past Perfect Continuous Tense พร้อมตัวอย่าง
กาลในอนาคต(Future Tense):
– หลักการใช้ Future Simple Tense พร้อมตัวอย่าง
– หลักการใช้ Future Continuous Tense พร้อมตัวอย่าง
– หลักการใช้ Future Perfect Tense พร้อมตัวอย่าง
– หลักการใช้ Future Perfect Continuous Tense พร้อมตัวอย่าง
สำหรับเพื่อนๆ ที่ยังไม่ได้ดูตอนที่ผ่านมาในเรื่อง “Tense คืออะไร 12 Tenses เข้าใจง่ายจำง่ายไม่ต้องท่อง” จะขอสรุปสั้นๆ ว่าในตอนที่แล้วเราได้รู้จักว่า tense คืออะไร และรู้จักชื่อของ 12 tenses พร้อมกับกับการจัดกลุ่มของ tenses สองแบบ คือแบบดั้งเดิมที่จัดกลุ่มตามกาลเวลาเหมือนอย่างที่เราได้เคยร่ำเรียนมา (past tense, present tense และ future tense) กับการจัดกลุ่มอีกแบบหนึ่งคือจัดกลุ่มตามลักษณะและพฤติกรรมของพวกมันซึ่งแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มคือ simple tense, continuous tense, perfect tense และ perfect continuous tense ซึ่งช่วยให้เราทำความเข้าใจพวกมันได้ดีขึ้นและสามารถจดจำพวกมันได้ง่ายกว่าเดิมนั่นเอง และในตอนนี้เราก็ได้รู้จักโครงสร้าง 12 tenses หลักการและวิธีการใช้ tense ทั้ง 12 พร้อมก้บได้ดูตัวอย่างให้เข้าใจง่ายๆ ไปแล้ว
ก็จบลงไปแล้วนะคะสำหรับโครงสร้าง 12 tenses หลักการและวิธีการใช้ tense ทั้ง 12 หวังว่าจะช่วยเพื่อนๆ เข้าใจระบบโครงสร้างไวยากรณ์ของ tense ทั้ง 12 tenses มากขึ้นนะคะ ไว้ถ้ามีโอกาเราจะไปทำความเข้าใจกับลักษณะพฤติกรรมของ tense แต่ละกลุ่มให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไปอีก ขอบคุณที่ติดตามอ่านมาตลอดนะคะ สวัสดีค่ะ
4 thoughts on “โครงสร้าง 12 tenses หลักการและวิธีการใช้ tense ทั้ง 12”