ตัวอย่างประโยค Past Simple Tense – คำอธิบายหลักการใช้อย่างละเอียด

ปกติแล้วเรามักใช้ past simple tense ในการบอกเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและจบลงไปแล้วในอดึต แต่ในบางกรณีก็มีการใช้ past simple tense โดยไม่เกี่ยวกับเวลาในอดีตได้เช่นกันนะคะ ยังมีการใช้ past simple ในสถานการณ์อื่นๆ อีกหลายแบบเลยค่ะ อย่างเช่นใช้พูดคุยกันซึ่งหน้าในปัจจุบันเพื่อให้ฟังดูสุภาพมากขึ้น, ใช้พูดถึงสถานการณ์ในอนาคตที่เราไม่ค่อยมั่นใจนัก, เป็นต้น เรามาดูตัวอย่างประโยค past simple tense พร้อมคำอธิบายหลักการใช้ในแบบต่างๆ อย่างละเอียด เริ่มจากตัวอย่างการใช้ past simple tense แบบง่ายๆ ไปจนถึงตัวอย่างการใช้ในแบบที่ซับซ้อนมากขึ้นดังต่อไปนี้ค่ะ

Past simple tense มีรูปแบบโครงสร้างง่ายๆ คือ
Subject + Verb 2 (ประธาน + กริยาช่องที่ 2)

ตัวอย่างประโยค Past Simple Tense ที่ใช้บอกเรื่องราวในอดีต

การใช้ Past Simple Tense กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงในอดีตในเวลาใดเวลาหนึ่งที่แน่แนอน ซึ่งบางครั้งผู้พูดอาจจะไม่จำเป็นต้องระบุเวลาที่เกิดขึ้นก็ได้

เพื่อนๆ ลองศึกษาตัวอย่างประโยค past simple tense ที่นำมาบอกเล่าเรื่องราวต่อไปนี้ดูนะคะ

Teresa Teng was a Taiwanese singer. She lived from 1953 to 1995. As a young child, Teng won awards for her singing at talent competitions. Her first major prize was in 1964 when she sang “Visiting Yingtai” from Shaw Brothers’ Huangmei opera movie. She became a breakout star in Japan in the 1970s and she was celebrated across Asia for her melancholy love songs. Teng retired from music in the early 1990s and took up residence in France. She died unexpectedly from an asthma attack while on vacation in Chiang Mai, Thailand in 1995, at the age of 42.

เทเรซ่า เติ้ง (เติ้งลี่จวิน) เป็นนักร้องชาวไต้หวัน เธอมีชีวิตอยู่ในช่วงปี 1953 ถึง 1995 (พ.ศ. 2496 ถึง 2538) ในวัยเด็กเติ้งได้รับรางวัลจากการร้องเพลงของเธอในการประกวดความสามารถพิเศษ รางวัลใหญ่ชิ้นแรกของเธอคือเมื่อปี 1964 (พ. ศ. 2507) เมื่อเธอร้องเพลง “เยี่ยมชมหยิงไท่” จากภาพยนตร์ของชอว์บราเดอร์หวงเหมย เธอกลายเป็นดาราที่มีชื่อเสียงในญี่ปุ่นในช่วงทศวรรษ 1970 (พ.ศ. 2513 – 2523) และเธอโด่งดังไปทั่วเอเชียจากเพลงรักแสนเศร้าหลายเพลง เติ้งอำลาวงการเพลงในช่วงต้นทศวรรษ 1990 (พ.ศ. 2533) และย้ายไปพำนักอยู่ในประเทศฝรั่งเศส เธอเสียชีวิตอย่างกะทันหันด้วยโรคหอบหืดกำเริบขณะพักร้อนที่เชียงใหม่, ประเทศไทย ในปี 1995 (พ.ศ. 2538) เมื่อตอนอายุ 42 ปี

เรื่องราวของนักร้องไต้หวันชื่อดัง เทเรซ่า เติ้ง หรือ เติ้งลี่จวิน ข้างต้นนั้นเป็นเรื่องราวที่บรรยายถึงเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้วในอดึต เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและจบลงไปแล้วทั้งสิ้น โดยคำว่า was / lived / won / sang / became / retired / took / died ที่เราระบายสีแดงเอาไว้นั้นล้วนแล้วแต่เป็น past simple ทั้งหมดเลยค่ะ เพื่อนๆ สังเกตดูการผันรูปของคำกริยาเหล่านี้ตามตารางข้างล่างนี้นะคะ กริยาที่เราใช้กับ past simple tense ก็คือกริยาช่องที่ 2 ของตารางนั่นเองค่ะ

BASE FORM (V1)
PAST SIMPLE (V2)
PAST PARTICIPLE (V3)
be (is/am/are) was/were been
become became become
 die  died  died
 live  lived  lived
 retire  retired  retired
 sing  sang  sung
 take  took taken
 win  won  won

Was ใช้กับ I / he / she / it / a dog / a cat / ชื่อคนคนเดียว อย่างเช่น I was / he was / she was / a cat was / Pranee was / เป็นต้น

Were ใช้กับ we / you / they / dogs / cats / คนหลายคน อย่างเช่น we were / you were / they were / cats were / Tanggwa and Pranee were / เป็นต้น

เรามาดูตัวอย่างประโยค past simple tense ที่ใช้ในลักษณะแบบนี้เพิ่มเติมกันอีกหน่อยนะคะ

Tanggwa bought a new smartphone last week.
แตงกวาซื้อสมาร์ทโฟนใหม่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

Kookkai learned to play the guitar very quickly.
กุ๊กไก่เรียนรู้การเล่นกีตาร์ได้อย่างรวดเร็ว

We drove to the safari park last weekend.
เราขับรถไปที่สวนสัตว์ซาฟารีเมื่อสุดสัปดาห์ที่แล้ว

The giant panda gave birth to a cub last night.
หมีแพนด้ายักษ์ให้กำเนิดลูกหนึ่งตัวเมื่อคืนนี้

Dinosaurs lived millions of years ago.
ไดโนเสาร์มีชีวิตอยู่นับล้านปีที่ผ่านมา (ตอนนี้สูญพันธ์ุหมดแล้ว)

BASE FORM (V1)
PAST SIMPLE (V2)
PAST PARTICIPLE (V3)
buy bought bought
drive drove driven
give gave given
learn learned/learnt learned/learnt
live lived lived

การใช้ Past Simple Tense กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและจบลงในช่วงเวลาหนึ่งในอดีต ซึ่งมักจะมีการบ่งบอกช่วงเวลาอย่างเช่น for two years, for five minutes, all day, all year, ฯลฯ เป็นต้น ตัวอย่างประโยคเช่น

I worked at that bank for five years.
ฉันเคยทำงานที่ธนาคารนั้นเป็นเวลาห้าปี (ตอนนี้ไม่ได้ทำแล้ว)

Pranee lived in Chiang Mai for four years.
ปราณีเคยอยู่ที่เชียงใหม่เป็นเวลาสี่ปี (ตอนนี้ไม่ได้อยู่แล้ว)

I was there all day.
ฉันอยู่ทีนั่นตลอดทั้งวัน (ตอนนี้ไม่ได้อยู่ที่นั่นแล้ว)

Kookkai and Nok talked on the phone for thirty minutes.
กุ๊กไก่กับนกได้คุยโทรศัพท์กันอยู่นานสามสิบนาที (ตอนนี้เลิกคุยไปแล้ว)

They did not stay at the party the entire time.
พวกเขาไม่ได้อยู่ร่วมงานเลี้ยงจนงานเลิกหรอก
(เราใช้ didn’t หรือ do not เข้ามาเป็นกริยาช่วยมีรูปแบบคือ didn’t / do not + infinitive (V1 ที่ไม่มีการผันรูป) ในประโยคปฏิเสธของ past simple tense) จากประโยคตัวอย่างนี้เราใช้ did not stay ไม่ใช่ did not stayed นะคะ

BASE FORM (V1)
PAST SIMPLE (V2)
PAST PARTICIPLE (V3)
be (is/am/are) was/were been
live lived lived
stay stayed stayed
talk talked talked
work worked worked


การใช้ Past Simple Tense กับลำดับเหตุการณ์หลายเหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นจบลงไปแล้วต่อเนื่องกันไปในอดีต โดยเกิดเหตุการณ์ที่ 1, ที่ 2, ที่ 3, … ต่อกันไปตามลำดับ ตัวอย่างประโยคเช่น

I finished work, walked to the beach, and found a nice place to swim.
ฉันทำงานเสร็จแล้วจึงได้เดินไปชายหาดและได้พบสถานที่ที่เหมาะกับการลงว่ายน้ำ

He arrived from the airport at 8:00, checked into the hotel at 9:00, and met the others at 10:00.
เขาถึงสนามบินตอนแปดนาฬิกาแล้วเข้าพักในโรงแรมตอนเก้านาฬิกาจากนั้นจึงไปพบกับคนอื่นๆในเวลาสิบนาฬิกา

Did you add flour, pour in the milk, and then add the eggs?
คุณได้ใส่แป้งแล้วเติมนมจากนั้นใส่ไข่เข้าไปด้วยหรือเปล่า
(เราใช้ did เข้ามาเป็นกริยาช่วยมีรูปแบบคือ did + infinitive (V1 ที่ไม่มีการผันรูป) ในประโยคคำถามของ past simple tense) จากตัวอย่างประโยคคำถามนี้เราจึงใช้ add / pour (V1 ที่ไม่มีการผันรูป) ไม่ใช่ added / poured (V2) นะคะ

BASE FORM (V1)
PAST SIMPLE (V2)
PAST PARTICIPLE (V3)
add added added
arrive arrived arrived
check checked checked
find found found
finish finished finished
meet met met
pour poured poured
walk walked walked

นอกจากนี้เรายังใช้ past simple tense กับเหตุการณ์ใน นิทาน, นิยาย, วรรณกรรม, เป็นต้น ตัวอย่างประโยคเช่น

The Three Bears found Goldilocks asleep in their house.
หมีสามตัวพบหนูน้อยโกลดี้ล็อคส์หลับอยู่ในบ้านของพวกมัน

The wicked Queen gave Snow White a poisoned apple.
ราชินีผู้ชั่วร้ายให้ผลแอปเปิ้ลอาบยาพิษแก่สโนว์ไวท์

Pinocchio’s nose grew longer every time he told a lie.
จมูกของพินอคคิโอยาวขึ้นทุกครั้งที่เขาโกหก

BASE FORM (V1)
PAST SIMPLE (V2)
PAST PARTICIPLE (V3)
find found found
give gave given
grow grew grown

การเติม ed – การเปลี่ยนรูปกริยาช่อง 1 เป็นกริยาช่อง 2

Past simple ที่ลงท้ายด้วย -ed เช่น added, finished, poured, walked, etc. เราเรียกว่าเป็น regular verbs (คำกริยาที่คงสภาพไว้เหมือนเดิม เพียงแค่เติม ed ต่อท้ายคำ)

คำกริยาที่มีพยัญชนะท้ายคำอยู่่ติดกันตั้งแต่สองตัวขึ้นไป ให้เติม ed ต่อท้ายได้เลย อย่างเช่น
talk + ed = talked
work + ed = worked
lunch + ed = lunched

คำกริยาที่ลงท้ายด้วย e อยู่แล้วเราเติมแค่ d ต่อท้ายได้เลย อย่างเช่น
arrive + ed = arrived
die + ed = died
live + ed = lived
retire + ed = retired

มีคำกริยาบางคำเราต้องเพิ่มพยัญชนะตัวสุดท้ายเข้าไปอีกตัวหนึ่งก่อนที่จะเติม ed อย่างเช่น
fan + ed = fanned
grab + ed = grabbed
pat + ed = patted
ขอให้สังเกตว่าคำกริยาเหล่านี้มักเป็นคำกริยาสั้นๆ ลงท้ายด้วยพยัญชนะเช่น b, d, m, n, p, t, และมีสระตัวเดียวหน้าพยัญชนะนั้นๆ

คำกริยาที่มี 2 พยางค์ ออกเสียงเน้นหนักพยางค์หลังให้เพิ่มตัวสะกดตัวท้ายอีกหนึ่งตัวก่อน แล้วจึงเติม ed อย่างเช่น
prefer + ed = preferred
control + ed = controlled

คำกริยาที่ลงท้ายด้วย y และหน้า y เป็นพยัญชนะ ให้เปลี่ยน y เป็น i แล้วจึงเติม ed อย่างเช่น
bury + ed = buried
cry + ed = cried
hurry + ed = hurried

คำกริยาที่ลงท้ายด้วย y และหน้า y เป็นสระ (a, e, i, o, u) เติม ed ได้เลย อย่างเช่น
convey + ed = conveyed
enjoy + ed = enjoyed
play + ed = played

Past simple บางคำไม่ได้ต่อท้ายด้วย -ed เช่น became, found, sang, took, etc. เราเรียกว่าเป็น irregular verbs (คำกริยาที่เปลี่ยนแปลงรูปร่างต่างกันทั้ง 3 ช่องเช่น sing – sang – sung หรือต่างกันแค่ 2 ช่องเช่น become – became – become หรือ ไม่ต่างกันเลยเช่น met – met – met)

*** ดูเพิ่มเติมเรื่อง การเติม ed การเปลี่ยนรูปกริยาช่อง 1 เป็นกริยาช่อง 2 (Past Simple)

การใช้ past simple tense กับประโยคคำถาม และ ประโยคปฏิเสธ

การใช้ past simple tense กับ “ประโยคคำถาม” และ “ประโยคปฏิเสธ” เราใช้ did/didn’t (do not) เป็นกริยาช่วยมีรูปแบบคือ did/didn’t + infinitive (V1 ที่ไม่มีการผันรูป) อย่างเช่น

ประโยคบอกเล่า
ประโยคคำถาม
ประโยคปฏิเสธ
I enjoyed. Did you enjoy? I didn’t enjoy.
She saw. Did she see? She didn’t see.
They went. Did they go? They didn”t go

เรามาดูตัวอย่างการใช้ past simple tense กับประโยคคำถามและประโยคปฏิเสธเพิ่มเติมกันหน่อยนะคะ

Did you go out last night?
Yes, I went to the cinema, but I didn’t enjoy the film much.
เมื่อคืนคุณได้ออกไปเที่ยวไหม?
ใช่ฉันไปดูหนัง แต่ฉันไม่ชอบหนังนั่นเท่าไรเลย

“When did Mr Henry die?” “About ten years ago.”
นายเฮนรี่ตายไปเมื่อไร? ประมาณสิบปีที่แล้ว

They didn’t invite us to the party, so we didn’t go.
พวกเขาไม่ได้เชิญเราไปงานปาร์ตี้ ดังนั้นเราจึงไม่ได้ไป

Did you have time to do the shopping?” “No, I didn’t.
“คุณมีเวลาไปช้อปปิ้งหรือยัง?” “ไม่ ฉันยังไม่ว่าง”

What did you do at the weekend?
I didn’t do anything.
เธอทำอะไรในวันหยุดสุดสัปดาห์?
ฉันไม่ได้ทำอะไรเลย
(สองประโยคนี้มีคำกริยาหลักคือ “do” เราก็ยังคงใช้ “did/didn’t + infinitive” (did … do / didn’t do) เช่นเดียวกับคำกริยาคำอื่นๆ นะคะ)

Past Simple ของ be (am/is/are) คือ was/were มีหลักการใช้ดังนี้:

Was/wasn’t ใช้กับ I / he / she / it / a dog / a cat / ชื่อคนคนเดียว อย่างเช่น
ประโยคบอกเล่า: I was / he was / she was / a cat was / Pranee was
ประโยคปฏิเสธ: I wasn’t / he wasn’t / she wasn’t / a cat wasn’t / Pranee wasn’t
ประโยคคำถาม: was I / was he / was she / was a cat / was Pranee

Were/weren’t ใช้กับ we / you / they / dogs / cats / คนหลายคน อย่างเช่น
ประโยคบอกเล่า: we were / you were / they were / cats were / Tanggwa and Pranee were
ประโยคปฏิเสธ: we weren’t / you were’t / they were’t / cats were’t / Tanggwa and Pranee were’t
ประโยคคำถาม: were we / were you / were they / were cats / were Tanggwa and Pranee

ตัวอย่างประโยคเช่น

Beethoven was a German composer.
บีโธเฟนเป็นนักแต่งเพลงชาวเยอรมัน

The Romans were brave soldiers.
ชาวโรมันเป็นทหารผู้กล้าหาญ

Tanggwa was at the library this morning.
แตงกวาอยู่ที่ห้องสมุดเมื่อเช้านี้

He was not well yesterday.
เขามีอาการไม่ดีเมื่อวาน

We were on the same school team.
พวกเราเคยอยู่ในทีมโรงเรียนเดียวกัน

Those were my faverite jeans.
พวกนั้นเคยเป็นกางเกงยีนส์ตัวโปรดของฉันเลยนะ

I was angry because they were late.
ฉันโกรธเพราะพวกเขาสาย

เราไม่ใช้ did/didn’t กับประโยคคำถาม/ประโยคปฏิเสธ ของ was/were ตัวอย่างประโยคเช่น

Was the weather good when you were on holiday?
อากาศดีมั๊ยตอนคุณอยู่ในช่วงวันหยุด?

Were you still in bed when I phoned?
เธอยังนอนอยู่หรือเปล่าตอนที่ฉันโทรศัพท์ไป?

Last year she wasn’t tall enough to reach the high shelf.
ปีที่แล้วเธอยังไม่สูงพอที่จะเอื้อมถึงชั้นวางของสูงๆ

They weren’t able to come because they were so busy.
พวกเขาไม่สามารถมาได้เพราะพวกเขายุ่งมาก

Pranee was second in the race, wasn’t she? (ไม่ใช่ ,doesn’t she?)
ปราณีได้ที่สองในการแข่งขันใช่มั๊ย?

Did you go out last night or were you too tired?
เมื่อคืนคุณได้ออกไปมั๊ยหรือคุณเหนื่อยเกินไป?
(ตัวอย่างประโยคนี้มีประโยคคำถามสองประโยคเชื่อมกันด้วย or ประโยคแรกไม่มี were จึงใช้ did ประโยคหลัง มี were จึงไม่ใช้ did – ไม่ใช่ … or did you were too tired?)

การใช้ Past Simple Tense ในความหมายว่าเคยเกิดขึ้น เคยทำ (Used To)

การใช้ Past Simple Tense พูดถึงเหตุการณ์หรือสิ่งที่เคยเกิดขึ้น หรือเคยทำในอดีต ในความหมายเหมือน used to (เคย) – เราอาจจะบ่งบอกเวลาโดยการระบุคำเช่น always, often, usually, never, when I was a child, when I was younger, ฯลฯ ไปด้วย ตัวอย่างประโยคเช่น

I studied piano when I was a child.
ฉันเคยได้เรียนเปียโนเมื่อตอนเด็ก

He played the violin.
(เมื่อก่อนนี้)เขาเคยเล่นเปียใน

He didn’t play the piano.
(เมื่อก่อนนี้)เขาไม่เคยเล่นเปียโนเลย

Did you play a musical instrument when you were a kid?
คุณเคยได้เล่นเครื่องดนตรีไหมเมื่อตอนเด็กๆ

She worked at the movie theater after school.
หลังจบจากโรงเรียนเธอเคยทำงานอยู่ที่โรงภาพยนตร์

การใช้ Past Simple Tense พูดถึงความเป็นจริงในอดีต หรือความคิดเห็นเรื่องทั่วไป ซึ่งไม่เป็นจริงแล้วในปัจจุบัน ในความหมายคล้ายกับ used to (เคย) ตัวอย่างประโยคเช่น

She was shy as a child, but now she is very outgoing.
เมื่อก่อนเธอ(เคย)เป็นเด็กขี้อาย แต่เดี๋ยวนี้เธอออกงานสังคมบ่อยมาก

He didn’t like tomatoes before.
เขาไม่เคยชอบมะเขือเทศมาก่อน (ปัจจุบันอาจจะชอบก็ได้)

Did you live in Lampang when you were a kid?
คุณเคยอยู่ที่ลำปางมาก่อนเมื่อสมัยที่เป็นเด็กหรือเปล่า

People paid much more to make cellular phone calls in the past.
เมื่อก่อนนี้ผู้คนต้องจ่ายเงินจำนวนมากในการใช้โทรศัพท์เซลลูลาร์ (แต่ในปัจจุบันค่าบริการถูกลงมาก)

หมายเหตุ : ในการเชื่อมสองประโยคที่ต่างก็เป็น Past Simple ถ้ามีประโยคหนึ่งใช้คำว่า when ประโยคนั้นจะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดก่อนเสมอ ไม่ว่าตัวประโยคที่มีคำว่า when จะอยู่ข้างหน้าหรืออยู่ข้างหลังก็ตาม ลองดูตัวอย่างจากประโยคต่อไปนี้นะคะ

When I paid her money , she answered my question.
เมื่อฉันได้จ่ายเงินให้เธอไป เธอจึงได้ตอบคำถามฉัน

She answered my question when I paid her money.
เธอได้ตอบคำถามของฉันหลังจากที่ฉันได้จ่ายเงินให้เธอไป

เพื่อนๆ ลองดูตัวอย่างประโยค past simple tense ต่อไปนี้ แล้วลองพิจารณาดูว่าเหตุการณ์ในอดึตเหตุการณ์ไหนเกิดขึ้นก่อนกัน

I paid her money when she answered my question.
ฉันจ่ายเงินให้เธอไปหลังจากที่เธอตอบคำถามของฉัน

When she answered my question, I paid her money.
เมื่อเธอได้ตอบคำถามของฉัน ฉันจึงจ่ายเงินให้เธอไป

จะเห็นว่าเพียงแค่เราสลับตำแหน่งของ when ความหมายก็จะเปลี่ยนไปเลย

การใช้ Past Simple Tense กับเหตุการณ์ซึ่งหน้าในปัจจุบัน

นี่เป็นการใช้ past simple tense ที่ไม่เกี่ยวข้องกับอดีตแต่อย่างใด เพื่อนๆ ลองดูตัวอย่างประโยคต่อไปนี้นะคะ

Present Simple: Can you tell me the time?
Past Simple: Could you tell me the time?
ความหมายเหมือนกันคือถามว่า ช่วยบอกหน่อยตอนนี้กี่โมงแล้ว? แต่ประโยคหลังจะฟังดูมีความสุภาพมากกว่าถ้าจะเทียบกับภาษาไทยก็ประมาณว่า พอจะบอกหน่อยได้ไหมคะว่าตอนนี้กี่โมงแล้ว?

ในมุมมองของเจ้าของภาษาเค้าจะรู้สึกว่าประโยคหลังที่ใช้ past simple จะฟังดูมีความสุภาพมากกว่าประโยคแรก ประมาณว่าเวลาเราถามเวลากับคนที่เราไม่รู้จักเราก็จะถามว่า พอจะบอกหน่อยได้ไหมคะว่าตอนนี้กี่โมงแล้ว? ส่วนประโยคแรกที่ใช้ present simple จะใส่ความเป็นกันเองไว้มากกว่าประมาณว่าเพื่อนกันสนิทกันก็พูดกันแบบง่ายๆ อย่างเช่น ตอนนี้กี่โมงแล้ว? ประมาณนี้ค่ะ

สงสัยมั๊ยคะว่าทำไมถึงเป็นอย่างนั้น มันมีที่มามาจากการที่มันเป็น present กับ past นั่นแหละค่ะ present เป็นปัจจุบันทำให้มีความรู้สึกใกล้ตัวมากกว่า (มีความสนิทกันมากกว่าไม่ต้องเกรงใจกันมาก) ส่วน past เป็นอดึตจึงมีความรู้สึกว่าอยู่ไกลตัวกว่า (ไม่ค่อยสนิทกันจึงต้องพูดอะไรแบบเกรงใจกันหน่อย สุภาพมากหน่อย) ก็ประมาณนี้แหละค่ะ

ลองดูตัวอย่างประโยคเพิ่มเติมอีกซักสถานการณ์นึงนะคะ

Tanggwa: Will you come to my house tomorrow? (future simple : question)
Pranee: I may come. (present simple) หรือ I might come. (past simple)

คำตอบของปราณีประโยคแรกจะมีความมั่นใจว่าอาจจะไปมากกว่าประโยคหลัง ก็ด้วยความห่างของความรู้สึกระหว่าง present กับ past คล้ายๆ กับตัวอย่างแรกนั่นแหละค่ะ

การใช้ Past Simple Tense พูดถึงอนาคตที่เราไม่ค่อยแน่ใจนัก

เรามาทบทวนจากตัวอย่างประโยคที่แตงกวากับปราณีคุยกันข้างต้นกันอีกทีนะคะ

Tanggwa: Will you come to my house tomorrow? (future simple : question)
Pranee: I may come. (present simple) หรือ I might come. (past simple)

ปราณีอาจจะเลือกตอบว่า I may come. ถ้าคิดว่าอาจจะไปก็ได้นะ หรือ
ปราณีอาจจะเลือกตอบว่า I might come. ถ้าคิดว่า ไม่แน่ใจเท่าไหร่นะ แต่บางทีอาจจะไปก็ได้

เมื่อเราไม่สามารถแน่ใจได้เกี่ยวกับอนาคต เราสามารถนำเอา past simple อย่างเช่น could, might มาใช้ได้ ดูตัวอย่างประโยคเพิ่มเติมกันอีกหน่อยนะคะ

We might go to Perth.
เราอาจจะไปเพิร์ธนะ (แต่ก็ยังไม่แน่ใจเท่าไร)

บางสถานการณ์เราสามารถเลือกใช้ may, might หรือ could ก็ได้อย่างเช่น

It may snow soon.
It might snow soon.
It could snow soon.
ไม่แน่ว่าหิมะอาจจะตกเร็วๆ นี้นะ

It may rain later.
It might rain later.
It could rain later.
อาจจะมีฝนตกภายหลังนะ

แต่ถ้าเมื่อไรที่เรามีความมั่นใจกับอนาคตเราก็จะใช้ future simple tense ตรงๆ ไปเลย อย่างเช่น

I’m sure it‘ll be all right.
ฉันแน่ใจว่ามันจะไม่เป็นไร

We‘re definitely going to be at the meeting.
เราจะต้องเข้าร่วมประชุมอย่างแน่นอน

ข้อสังเกต: แม้ว่า might กับ could จะเป็น past simple (กริยาช่องที่ 2) แต่เราใช้มันเพื่อพูดถึงเหตุการณ์ในอนาคต (future) หรือ ปัจจุบัน (present)

(ดูเพิ่มเติมเรื่อง การใช้ modals possibility and certainty; could, may, might, must)

ก็ค่อนข้างจะยาวหน่อยนะคะสำหรับตอนนี้เพราะเราอยากให้เพื่อนๆ เห็นตัวอย่างการใช้ past simple tense ในแบบที่เจ้าของภาษาเค้าใช้กันให้ครอบคลุมมากที่สุด ซึ่งเราเห็นเค้าเอามาออกข้อสอบอยู่บ่อยๆ ด้วยนะ

เพื่อนๆ อ่านทบทวนจบแล้วลองเข้าไปทดสอบความเข้าใจเรื่องการใช้ past simple tense กับข้อสอบ/แบบฝึกหัด กันด้วยนะคะ
ข้อสอบ/แบบฝึกหัด Past Simple Tense พร้อมเฉลย+คำอธิบายอย่างละเอียด

ดูสรุปหลักการใช้ past simple tense ทั่วไป ได้ตามนี้นะคะ:
หลักการใช้ Past Simple Tense ตัวอย่างการใช้ Past Simple Tense

*** ดูเรื่องที่เกี่ยวข้อง
ตัวอย่างประโยค present simple tense พร้อมคำอธิบายหลักการใช้อธิบายอย่างละเอียด
แบบฝึกหัด Present Simple Tense พร้อมเฉลยและคำอธิบาย

Tense คืออะไร 12 Tenses เข้าใจง่ายจำง่ายๆไม่ต้องท่อง
โครงสร้าง 12 tenses หลักการและวิธีการใช้ tense ทั้ง 12
หลักการใช้ Present Simple Tense + Present Continuous Tense และตัวอย่าง
หลักการใช้ Present Perfect Tense + Present Perfect Continuous Tense ตัวอย่าง
หลักการใช้ Past Simple Tense ตัวอย่างการใช้ Past Simple Tense
หลักการใช้ Past Perfect Tense + Past Perfect Continuous Tense ตัวอย่าง
หลักการใช้ Simple Future Tense พร้อมตัวอย่าง
หลักการใช้ Future Continuous Tense พร้อมตัวอย่าง
หลักการใช้ Future Perfect Tense พร้อมตัวอย่าง
หลักการใช้ Future Perfect Continuous Tense พร้อมตัวอย่าง

One thought on “ตัวอย่างประโยค Past Simple Tense – คำอธิบายหลักการใช้อย่างละเอียด

Comments are closed.