กริยาแท้และกริยาไม่แท้ Finite and Non-finite Verbs คือ? ต่างกัน?

ในตอนนี้เรามาดูกันว่ากริยาแท้และกริยาไม่แท้(Finite and Non-finite Verbs) คืออะไร, ต่างกันอย่างไร  กริยาแท้และกริยาไม่แท้(Finite and Non-finite Verbs) มีกี่แบบแต่ละแบบมีลักษณะอย่างไร, ทำหน้าที่อะไรในประโยค เราจะอธิบายและยกตัวอย่างประกอบให้เข้าใจได้ง่ายๆ นะคะ เรื่องคำกริยานี้อาจจะดูเหมือนเป็นเรื่องง่ายๆ แต่เราอยากให้เพื่อนๆ ค่อยๆ อ่านให้ละเอียดโดยตลอด เพราะบางทีอาจจะมีหลายจุดสำคัญที่เราละเลยหลงลืมไปก็ได้ มาดูรายละเอียดกันได้เลยค่ะ

กริยาแท้และกริยาไม่แท้(Finite and Non-finite Verbs) คืออะไร

ในภาษาอังกฤษ คำกริยา(Verbs) จะถูกแบ่งตามหน้าที่ของมันได้เป็นสองประเภทคือ กริยาแท้(Finite Verbs) กับ กริยาไม่แท้(Non-finite verbs)

  • กริยาแท้(Finite Verbs) คือคำที่บอกอาการหรือการกระทำของประธาน(subject) และ กาล(tense) ในประโยค
  • กริยาไม่แท้(Non-finite Verbs) คือคำที่มีรูปมาจากคำกริยาแต่ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นคำกริยาของประธานในประโยคโดยตรง แต่มันสามารถใช้เป็นคำนาม(Noun), คำคุณศัพท์(Adjective), คำวิเศษณ์/คำกริยาวิเศษณ์(Adverb) หรือส่วนขยาย(Complement) ของประโยคได้

เพื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้น ลองดูตัวอย่างประโยคต่อไปนี้นะคะ

We are students.
(พวกเราเป็นนักเรียน/พวกเราเป็นนักศึกษา)
จะเห็นได้ว่า “are” ในประโยคนี้เป็นกริยาแท้(finite verb) แปลว่า เป็น

We are learning English.
(พวกเรากำลังเรียนภาษาอังกฤษ)
ประโยคนี้เป็น Present Continuous Tense มีคำว่า “are” กับ “learning” เป็นกริยาแท้(finite verbs) บอกการกระทำของประธานคือ “We” โดยที่ “learning” เป็นกริยาหลัก และ “are” เป็นกริยาช่วยให้ประโยคสมบูรณ์

I enjoy learning English.
(ฉันสนุกกับการเรียนภาษาอังกฤษ)
จะสังเกตเห็นว่าในประโยคนี้มีคำกริยาสองคำคือ “enjoy” กับ “learning” โดยที่ “enjoy” เป็นคำกริยาที่บอกอาการของประธานคือ “I” โดยตรงดังนั้น “enjoy” จึงเป็นกริยาแท้(finite verb) ส่วน “learning” คือ gerund แม้จะมาจากคำกริยาคือ “learn + ing” แต่กลับมีความหมายเป็นคำนามแปลว่าการเรียน ดังนั้น “learning” จึงเป็นกริยาไม่แท้(non-finite verb) นั่นเองค่ะ

I will ask him to come.
(ฉันจะขอให้เขามา)
ประโยคนี้มีคำกริยาสองคำเช่นกันคือ “ask” กับ “come” โดย “to come” คือ infinitive เป็นกริยาไม่แท้(infinite verb) ทำหน้าที่เป็นคำกริยาวิเศษณ์(Adverb) ใช้เป็นส่วนขยายของกริยาแท้(finite verb) คือ “ask”

กริยาแท้(Finite Verbs) และตัวอย่าง

กริยาแท้(Finite Verbs) คือคำที่บอกอาการหรือการกระทำของประธาน(subject) และ กาล(tense) ในประโยค โดยกริยาแท้จะสอดคล้องและสามารถผัน/ไม่ผันรูปได้ตามจำนวนประธาน(เอกพจน์/พหูพจน์), บุรุษ(person) ที่เป็นประธาน, ตามกาล(tense), passive/active voice และ mood ต่างๆ ที่ไม่ต้องผันรูปกริยาตามกฏทั่วไป

กริยาแท้นี้ยังแบ่งออกไปอีกเป็น 2 ประเภทย่อยคือ:

  • กริยาหลัก(Principal Verbs) เป็นกริยาที่มีความสำคัญกับประโยคทำให้ประโยคมีความหมายใจความครบถ้วน เช่น We are students. “are” เป็นกริยาหลัก
  • กริยาช่วย(Auxiliary Verbs or Helping verbs) เป็นกริยาที่ใช้เป็นคำเสริมให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ เช่น We are learning English. “are” เป็นกริยาช่วย

ลองดูตัวอย่างประโยค:

I love him.
(ฉันรักเขา)
ประโยคนี้เป็น Present Simple Tense, กริยาแท้(finite verb) คือ “love” มีรูปกริยาที่ไม่มีการผัน สอดคล้องกับประธาน “I” โดย “I” เป็นเอกพจน์บุรุษที่หนึ่ง(first person singular)

Pranee loves him.
(ปราณีรักเขา)
ประโยคนี้เป็น Present Simple Tense, กริยาแท้(finite verb) คือ “loves” มีรูปกริยาที่เติม “-s” สอดคล้องกับประธาน “Pranee” โดย “Pranee” เป็นเอกพจน์บุรุษที่สาม(third person singular)

I loved him.
(ตอนนั้นฉันรักเขา)
Pranee loved him.
(ตอนนั้นปราณีรักเขา)
สองประโยคนี้เป็น Past Simple Tense, กริยาแท้(finite verb) คือ “loved” มีรูปกริยาที่ผันโดยเติม “-ed” สอดคล้องกับ Past Simple Tense

The tiger was killed.
ประโยคนี้มีลักษณะเป็น Passive Voice, กริยาแท้(finite verb) คือ “killed” มีรูปกรียาที่ผันโดยเติม “-ed” สอดคล้องกับ Passive Voice

It is necessary that he find the passport.
(มันจำเป็นที่เขาต้องหาหนังสือเดินทางให้พบ)
ประโยคนี้มีลักษณะเป็น Subjunctive mood จะสังเกตได้ว่า “find” เป็นกริยาแท้(finite verb) แต่ไม่ต้องผัน(ไม่เติม “-s”) แม้ว่าประธานเป็น “he” อย่าเผลอกันนะคะตรงนี้อยากจะบอกว่าออกข้อสอบบ่อยมาก
***เมื่อมีการเชื่อมประโยคสองประโยคด้วย that และมีคำที่อยู่ในกลุ่มของ Subjunctive อยู่ข้างหน้า that กริยาในประโยคที่ตามหลัง that นั้นจะต้องคงรูปกริยาช่องที่หนึ่งโดยไม่มีการผันรูป
***Verb ที่อยู่ในกลุ่มของ Subjunctive เช่น advise, ask, insist, move, propose, order, require, suggest เป็นต้น
***Adjective ที่อยู่ในกลุ่มของ Subjunctive เช่น advised, important, urgent, suggested, neccessary, recommended เป็นต้น

กริยาไม่แท้(Non-finite Verbs)

  • กริยาไม่แท้(Non-finite Verbs) คือคำที่มีรูปมาจากคำกริยาแต่ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นคำกริยาของประธานในประโยคโดยตรง แต่มันสามารถใช้เป็นคำนาม(Noun), คำคุณศัพท์(Adjective), คำวิเศษณ์/คำกริยาวิเศษณ์(Adverb) หรือส่วนขยาย(Complement) ของประโยคได้
  • กริยาไม่แท้(Non-finite Verbs) จะไม่มีการผันรูปตามจำนวนประธาน(เอกพจน์/พหูพจน์), บุรุษ(person) ที่เป็นประธาน, ตามกาล(tense), passive/active voice หรือ mood ต่างๆ
  • กริยาไม่แท้(Non-finite Verbs) ยังแบ่งออกไปอีกเป็น 3 ประเภทคือ infinitives, participles และ gerunds

*** ยังไม่จบนะคะ เข้าไปอ่านต่อกันได้ที่นี่เลบค่ะ กริยาไม่แท้ Non-finite Verbs คือ? มีกี่แบบ การใช้ ตัวอย่างประโยค

ทีแรกเราว่าจะเขียนเรื่อง กริยาแท้และกริยาไม่แท้ (Finite and Non-finite Verbs) คืออะไร ต่างกันอย่างไร ให้จบในตอนนี้ตอนเดียวแต่ทำไปทำมาดูเหมือนเนื้อหามันจะเยอะขึ้นเรื่อยๆ เอาเป็นว่าขอยกยอดเรื่อง กริยาไม่แท้(Non-finite Verbs) ไปไว้ในตอนต่อไป อย่าลืมติดตามกันต่อให้ได้นะคะ ขอบคุณค่ะ

One thought on “กริยาแท้และกริยาไม่แท้ Finite and Non-finite Verbs คือ? ต่างกัน?

Leave a Reply